บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก กันยายน, 2017

การทำข้าวต้มมัด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี

รูปภาพ
ประวัติความเป็นมาของข้าวต้มมัด      ข้าวต้มมัดเป็นหนึ่งในขนมไทย ที่น้อยคนนักจะบอกว่าไม่รู้จัก เนื่องจากเป็นขนมที่มี ประโยชน์ และมีคุณค่าทางอาหาร สามารถหาวัตถุดิบในการทำได้ง่ายในท้องถิ่น นอกจากนี้ยังเป็นขนมที่นำข้าวซึ่งเป็นอาหารหลักของคนไทยนำมาประยุกต์ ปรุงแต่งเป็นขนมหวาน จึงถือได้ว่า  “ ข้าวต้มมัด ”  เป็นหนึ่งในภูมิปัญญาท้องถิ่นของบรรพบุรุษไทย     “ ข้าวต้มมัด ”   มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น อาทิเช่น ทางภาคเหนือจะเรียกข้าวต้มมัดว่า   “ ข้าวต้มผัด ”   ทางภาคกลางเรียกว่า  “ ข้าวต้มมัด ”   เรียกตามรูปลักษณ์ที่มีห่อและมัดเป็นกลีบโดยใช้ใบตองและเชือกกล้วย ส่วนทางภาคใต้โดยเฉพาะนครศรีธรรมราชจะเรียกว่า  “ เหนียวห่อกล้วย ”   เพราะลักษณะที่เห็น ประกอบกับวิธีการทำที่เป็นการนำข้าวเหนียวมาห่อกล้วยเอาไว้และห่อปิดด้วยใบตองอีกชั้นหนึ่ง นอกจากนี้ บางท้องถิ่นจะห่อข้าวต้มมัดเป็นทรงกรวยโดยใช้ใบกระพ้อแต่ไม่มัด หรือห่อเป็นก้อนด้วยใบเตยหรือใบอ้อย แล้วไว้หางยาว ซึ่งจะเรียกว่า   “ ข้าวต้มลูกโยน ”    ...

วัดปากแซง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี

รูปภาพ
จากหลักฐานการบูรณะวัดพระโต  ในปี พ.ศ.2461  พระครูกุ  พร้อมชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างวิหารโดยว่าจ้างช่างชาวญวนใช้เวบาสร้าง  3  ปี  และจารึกไว้ที่วิหารว่า “ข้าพเจ้าพระครูทองกุศกร  สมภาควัดกลางเขมราฐ  มีท่านพระครูกุ  เป็นประธานพร้อมด้วยข้าพเจ้าทั้งหลายทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านได้พร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างวิหารพระเจ้าใหญ่ปากแซง  ใน  5  หมู่บ้าน  คือ  บ้านปากแซง  บ้านนาทราย  บ้านพะลาน  บ้านบก  บ้านทุ่งเกลี้ยง  ได้จ้างคนอานาม  (เวียดนาม)  เป็นเงิน  700  บาท  สร้างเมื่อ  พ.ศ. 2463  ถึง  พ.ศ. 2468  แล้วเสร็จ”         สำหรับวัดพระโตแห่งนี้  มีความสำคัญที่ประชาชนคนไทยและชาวจังหวัดอุบลราชธานี  มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง  เพราะเป็นมรดกล้ำค่าทางด้านศาสนา  เป็นศูนย์รวมดวงใจชาวพุทธทั้งไทย – ลาว ต่างเลื่อมศรัทธากราบไหว้บูชา  และด้วยพระบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของ   “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ” ...