วัดปากแซง อ.เขมราฐ จ.อุบลราชธานี


จากหลักฐานการบูรณะวัดพระโต  ในปี พ.ศ.2461  พระครูกุ  พร้อมชาวบ้านได้ร่วมกันก่อสร้างวิหารโดยว่าจ้างช่างชาวญวนใช้เวบาสร้าง  3  ปี  และจารึกไว้ที่วิหารว่า “ข้าพเจ้าพระครูทองกุศกร  สมภาควัดกลางเขมราฐ  มีท่านพระครูกุ  เป็นประธานพร้อมด้วยข้าพเจ้าทั้งหลายทั้งกำนันผู้ใหญ่บ้านได้พร้อมใจกันบริจาคทรัพย์สร้างวิหารพระเจ้าใหญ่ปากแซง  ใน  5  หมู่บ้าน  คือ  บ้านปากแซง  บ้านนาทราย  บ้านพะลาน  บ้านบก  บ้านทุ่งเกลี้ยง  ได้จ้างคนอานาม  (เวียดนาม)  เป็นเงิน  700  บาท  สร้างเมื่อ  พ.ศ. 2463  ถึง  พ.ศ. 2468  แล้วเสร็จ”
        สำหรับวัดพระโตแห่งนี้  มีความสำคัญที่ประชาชนคนไทยและชาวจังหวัดอุบลราชธานี  มีความภาคภูมิใจอย่างยิ่ง  เพราะเป็นมรดกล้ำค่าทางด้านศาสนา  เป็นศูนย์รวมดวงใจชาวพุทธทั้งไทย – ลาว ต่างเลื่อมศรัทธากราบไหว้บูชา  และด้วยพระบารมีความศักดิ์สิทธิ์ของ  “พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อ”  จึงเป็นสายสัมพันธ์เชื่อมโยงไทย  - ลาวให้มีความผูกพันตลอดมา
        พระครูพุทธวราธิคุณ เจ้าอาวาสพระโตกล่าวว่า  เมื่อวันที่  23  พฤศจิกายน 2520  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ  พร้อมด้วยเจ้าฟ้าหญิงอุบลรัตน์ราชกัลยา  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ  สยามบรมราชกุมาร  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ  สยามบรมราชกุมารี  เจ้าฟ้าหญิงจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์  อัครราชกุมารี  ได้เสด็จเยี่ยมราษฎรที่บ้านปากแซง  อ.เขมราฐ  จ.อุบลราชธานี  ยังความปลาบปลื้มปิติยินดีแก่พสกนิกรชาวจังหวัดอุบลราชธานีอย่างยิ่ง
        นอกจากนี้  ยังมีบุคคลสำคัญและผู้นำประเทศได้เดินทางมานมัสการพระเจ้าใหญ่องค์ตื้อหลายท่าน  เช่น  ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ปราโมช  อดีตนายกรัฐมนตรี  พลเอกชวลิต  ยงใจยุทธ  อดีตนายกรัฐมนตรี  นายกร ทัพรังสี  อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ฯ
         พระเจ้าใหญ่องค์ตื้อจากอดีตถึงปัจจุบัน ยังคงเป็นปูชนียสถานอันสำคัญ  เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์  เป็นศูนย์รวมดวงใจชาวไทย – ลาวสองฝั่งโขง  เชื่อมโยงสู่ความเจริญทางด้านจริยธรรม  คุณธรรม  และประเพณีอันดีงามให้อนุชนรุ่นหลังได้สืบสานต่อไปไม่มีวันเสื่อมคลาย  ที่สำคัญเมื่อพระครูพุทธวราธิคุณ  ได้มาเป็นเจ้าอาวาส  ตั้งแต่  ปี  2540  ถึงปัจจุบันกว่า  10  ปี  มีคณะกรรมการดำเนินงานเปิดโอกาสให้ชุมชน  และทุกภาคส่วนร่วมพัฒนาวัดให้เจริญก้าวหน้า  โดยการปรับปรุงภูมิทัศน์และสถานที่สำหรับอำนวยความสะดวกให้กับพุทธศาสนิกชนรวมทั้งนักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมแหล่งเรียนรู้ประวัติศาสตร์ตามลำน้ำโขงที่จังหวัดอุบลราชธานีประชาสัมพันธ์ไปทั่วโลก  เช่น  สามพันโบก  สองคอน  หาดสลึง  และต้นปี  2553  มีการค้นพบแหล่งท่องเที่ยวสองฝั่งโขง  คือ  เก้าพันโหง่น  ที่เป็นเกาะแก่งหินกลางลำน้ำโขงตั้งตระหง่านหลายพันก้อน  หลายพันโหง่น  และหาดทรายที่สวยงามใกล้กับวัดพระโต บ้านปากแซง  อ.นาตาล  นับเป็นดินแดนสงบ  ปลอดภัย  น่าอยู่  น่าเที่ยวอีกแห่งหนึ่งในจังหวัดอุบลราชธานี

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส

การทำข้าวต้มมัด อำเภอเขมราฐ จังหวัดอุบลราชธานี