สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ" ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาแพ ทรงออกผนวชเมื่อพระชนม์ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนเป็นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ในด้านการศาสนา ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น "ดวงประทีปแก้ว" แห่งคณะสงฆ์ไทย เชี่ยวชาญพระธรรมวินัย และทรงเป็นนักการศึกษาที่ร่วมบุกเบิกการประถมศึกษาในหัวเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านศาสนา
1.1) ทรงตั้งมหามงกุฎราชวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2436 เพื่อเป็นสถานศึกษาขั้นสูงของสงฆ์ และทรงนำวิชาการแผนใหม่มาทดลองสอนและสอบ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งเรียนคณิตศาสตร์และวิชาการสมัยใหม่อื่น ๆ ทรงนำวิธีการวัดผลการศึกษาด้วยการสอบข้อเขียนมาใช้แทนการสอบปากเปล่าแบบเก่า
1.2) ทรงวางหลักสูตรนักธรรมที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของสงฆ์
1.3) ทรงวางระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ และแยกการปกครองคณะสงฆ์จากฆราวาส โดยให้คณะสงฆ์ปกครองกันเอง
1.4) ทรงนิพนธ์หนังสือสำคัญหลายเล่ม เช่น นวโกวาท พุทธประวัติ เบญจศีลเบญจธรรม และธรรมวิจารณ์ ทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มีพระนามเดิมว่า "พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ" ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและเจ้าจอมมารดาแพ ทรงออกผนวชเมื่อพระชนม์ 20 พรรษา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเลื่อนเป็นสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรสทรงเป็นนักปราชญ์ที่มีความรอบรู้ในด้านการศาสนา ทรงได้รับการยกย่องว่าทรงเป็น "ดวงประทีปแก้ว" แห่งคณะสงฆ์ไทย เชี่ยวชาญพระธรรมวินัย และทรงเป็นนักการศึกษาที่ร่วมบุกเบิกการประถมศึกษาในหัวเมืองในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้
1. ด้านศาสนา
1.1) ทรงตั้งมหามงกุฎราชวิทยาลัยเมื่อ พ.ศ. 2436 เพื่อเป็นสถานศึกษาขั้นสูงของสงฆ์ และทรงนำวิชาการแผนใหม่มาทดลองสอนและสอบ เช่น ภาษาบาลี สันสกฤต ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งเรียนคณิตศาสตร์และวิชาการสมัยใหม่อื่น ๆ ทรงนำวิธีการวัดผลการศึกษาด้วยการสอบข้อเขียนมาใช้แทนการสอบปากเปล่าแบบเก่า
1.2) ทรงวางหลักสูตรนักธรรมที่เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานของสงฆ์
1.3) ทรงวางระเบียบการปกครองคณะสงฆ์ และแยกการปกครองคณะสงฆ์จากฆราวาส โดยให้คณะสงฆ์ปกครองกันเอง
1.4) ทรงนิพนธ์หนังสือสำคัญหลายเล่ม เช่น นวโกวาท พุทธประวัติ เบญจศีลเบญจธรรม และธรรมวิจารณ์ ทำให้เข้าใจพระพุทธศาสนาได้ดียิ่งขึ้น
2. ด้านการศึกษา
2.1) ทรงทำงานร่วมกับสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมือง และทรงรับหน้าที่ในการฝึกอบรมพระภิกษุในกรุงเทพ ฯ และหัวเมืองเพื่อให้เป็นครูออกไปสอนตามโรงเรียนหัวเมือง
2.2) ทรงวางแผนการจัดตั้งโรงเรียนและการสร้างหลักสูตรการศึกษา ซึ่งทรงเน้นว่าการศึกษาต้องสอดคล้องกับความต้องการของบ้านเมืองเป็นหลัก รวมทั้งทรงให้ความสำคัญกับการสอนศีลธรรมและจริยธรรม
2.3) ทรงแนะนำและชักจูงให้ราษฎรเห็นผลประโยชน์ของการศึกษาและสนับสนุนกิจการของโรงเรียนในท้องถิ่น
2.4) ทรงให้ความสำคัญกับการเดินทางตรวจราชการตามหัวเมืองเพื่อให้เห็นสภาพปัญหาจริงแทนการรับฟังรายงานเพียงอย่างเดียว
2.1) ทรงทำงานร่วมกับสมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ในการจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมือง และทรงรับหน้าที่ในการฝึกอบรมพระภิกษุในกรุงเทพ ฯ และหัวเมืองเพื่อให้เป็นครูออกไปสอนตามโรงเรียนหัวเมือง
2.2) ทรงวางแผนการจัดตั้งโรงเรียนและการสร้างหลักสูตรการศึกษา ซึ่งทรงเน้นว่าการศึกษาต้องสอดคล้องกับความต้องการของบ้านเมืองเป็นหลัก รวมทั้งทรงให้ความสำคัญกับการสอนศีลธรรมและจริยธรรม
2.3) ทรงแนะนำและชักจูงให้ราษฎรเห็นผลประโยชน์ของการศึกษาและสนับสนุนกิจการของโรงเรียนในท้องถิ่น
2.4) ทรงให้ความสำคัญกับการเดินทางตรวจราชการตามหัวเมืองเพื่อให้เห็นสภาพปัญหาจริงแทนการรับฟังรายงานเพียงอย่างเดียว

ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น